ไอที คอมพิวเตอร์ » จดโดเมนกับที่ไหนดี

จดโดเมนกับที่ไหนดี

6 มิถุนายน 2022
393   0

ควรเลือกการเลือกผู้ให้บริการจดโดเมนเนม / (Domain Name Registrar) รายใด

คุณจะได้ทราบถึง วิธีการจดโดเมนเนม การเลือกผู้ให้บริการจดโดเมนเนม (Domain Name Registrar) และการรักษาความปลอดภัยของจดโดเมนเนม ตลอดจนข้อความพิจารณาถึงสิทธิประโยชน์ ฟีเจอร์จดโดเมนเนม หรือบริการที่ผู้ให้บริการจดโดเมนเนม มอบให้กับคุณค่ะ

หากคุณกำลังค้นหาชื่อโดเมนเนม และเริ่มต้นจดทะเบียนโดเมนเนม ซึ่งการจดโดเมนเนม นับเป็นส่วนสำคัญอย่างมากบนโลกออนไลน์ขององค์กรของคุณ

การจดโดเมนเนม นับเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก บนโลกออนไลน์ขององค์กรของคุณ และอาจนับว่าโดเมนเนมเป็นสินทรัพย์ของบริษัท

ซึ่งคุณสามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.skyfast.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ ที่จัดทำโดยโซลูชั่นเครือข่ายที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Registrars ต่างๆ ,การค้นหาชื่อโดเมนเนม ( Search Whois) และคำถามคำตอบเกี่ยวกับโดเมน

แนะนำประเภทโดเมนเนม

Top level domains – ชื่อโดเมนทั่วไปส่วนขยาย : TLDs – Common Domain Name Extensions

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน ซึ่งก็คือ ชื่อเว็บไซต์ “ ซึ่งมีการเก็บข้อมูลของเว็บไซต์เราไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่บนอินเทอร์เน็ต

ชื่อโดเมนนี้จะมีการกำหนด DNS (Domain name server)

โดย DNS จะใช้ระบบ ชื่อโดเมน และโดเมนย่อย หรือ subdomain ด้วยการ่คั่นด้วยจุุุด (‘.’) เพื่อจัดระเบียบของโดเมนเนม

ตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ ecomsiam.com มีการใช้ sub domain name ในการตั้งชื่อ โดยใช้ชื่อ โดเมนเนม.skyfast.com

มีชื่อโดเมนเนมคือ "skyfast" และมีโดเมนเนมย่อยคือ ” โดเมนเนม.skyfasthost.com ” นั่นเอง

การจดโดเมนเนมระดับบนสุด (TLDs : Top-level domain) คืออะไร

โดเมนเนมระดับบนสุด หรือ Domain Names and Top-level Domains คือ โดเมนเนมที่อยู่ระดับบนสุด ในระบบชื่อโดเมนเนม ตามลำดับชั้นของอินเทอร์เน็ต

กล่าวคือ TLDs คือส่วนขยายของโดเมนเนมระดับบนสุด ซึ่งต่อไปนี้เราจะเรียกว่า “TLDs”

ตัวอย่างเช่น โดเมนเนม ecomsiam.com เป็นโดเมนระดับบนสุดของ .com

โดยทั่วไป เราอาจจำแนกประเภทของโดเมน ได้ตามส่วนขยายหรือนามสกุลของโดเมนเนมได้ดังนี้

(1) โดเมนระดับบนสุดตามหมวด (gTLD) :

คือส่วนขยายของโดเมนระดับบนสุด ซึ่งใช้กับโดเมนเนมทั่วไป

ใช้ตามประเภทขององค์กร (อย่างน้อยในทางทฤษฎี) (เช่น .com สำหรับองค์กรทางธุรกิจ) มีตัวอักษรอย่างน้อย 3 ตัว สามารถใช้ได้ทั่วโลก แต่ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ gov และ mil ใช้ได้เฉพาะกับหน่วยงานด้านการปกครองและการทหารของสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ

ส่วนขยายของโดเมนระดับบนสุด ซึ่งใช้กับโดเมนเนมทั่วไป

โดเมนเนมระดับบนสุด ที่มีการใช้มาตั้งแต่แรกเริ่ม (TLDs) คือ

.net .org .edu .gov .int .mil

และต่อมามีการเพิ่ม TLDs ของโดเมนเนมใหม่ เพื่อให้แยกประเภทของการใช้งานโดเมนเนม ได้หลากหลายยิ่งขึ้น

และได้นำมาใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งแม้ว่าโดเมนนี้จะไม่ได้เป็นที่นิยมมาก นักเมื่อเทียบกับแบบ TLDs เดิมตามที่กล่าวข้างต้น

นามสกุลใหม่ของโดเมนเนม ที่มีการเพิ่มเข้ามาคือ

.biz .info .jobs .mobi .name .tel

 .com (“ดอทคอม”) เป็นนามสกุลของโดเมนเนม ที่มีความนิยมใช้มากที่สุด

(2) โดเมนระดับบนสุด ตามรหัสประเทศ (ccTLD) :

นอกจากโดเมนเนม TLDs แบบโดเมนทั่วไป ตามที่ได้กล่าวตามข้างต้น ยังมีการขยายเป็น โดเมนเนมสำหรับแต่ละประเทศ เพื่อช่วยจัดระเบียบเว็บไซต์ภายในแต่ละประเทศ

โดยนามสกุลหรือส่วนขยายของโดเมนเนมเหล่านี้ จะมีการตั้งชื่อแยกตามตามมาตรฐาน ตามรหัสประเทศเป็นตัวอักษร 2 ตัวเป็นตัวแทนประเทศ

ตัวอย่างของ TLDs โดเมนตามรหัสประเทศมีดังนี้ค่ะ

.th สำหรับประเทศไทย (Thailand)

.jp สำหรับประเทศญี่ปุ่น (Japan)

.au สำหรับประเทศออสเตรเลีย (Australia)

.ca สำหรับประเทศแคนาดา (Canada)

.cn สำหรับประเทศจีน (China)

และอื่นๆ เช่น .de (germany) .kr (korea) .fr (France) .in (India) .jp (Japan) เป็นต้น

ในปัจจุบัน มีบริการรับจดโดเมนเนม .th โดเมนเนม .th เป็นโดเมนเนมที่จด สำหรับประเทศไทย

โดยมีหน่วยงานคือ Thnic เป็นผู้ดูแลการจดทะเบียนโดเมน .th ทั้งหมด

โดยมีรายละเอียด และเงื่อนไขของ การจดโดเมนเนม .th ดังนี้ค่ะ

คลิ๊กที่แต่ละประเภทโดเมนเนมด้านล่าง เพื่อเรียกดูรายละเอียดค่ะ

แนะนำการจดโดเมนเนม และเอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .CO.TH

แนะนำการจดโดเมนเนม - เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม CO.TH

การจดโดเมน .CO.TH หรือ .ธุรกิจ.ไทย

โดเมนเนม .co.th สำหรับองค์กรธุรกิจในประเทศไทย สำหรับบุคคลผู้ประกอบธุรกิจ ได้แก่

  1. นิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  2. บุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
  3. รัฐวิสาหกิจ
  4. บุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวง พาณิชย์
  5. นิติบุคคลหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ สามารถแต่งตั้งตัวแทนผู้รับ มอบอำนาจให้ถือครองชื่อโดเมนโดยตัวแทนต้องเป็นบุคคลตามข้อ (1) หรือ (2)

เอกสารจดโดเมน .CO.TH หรือ .ธุรกิจ.ไทย

การจดทะเบียนโดเมนเนม .co.th สามารถพิจารณาได้เป็น 2 แบบ

(1) จดทะเบียนโดเมนเนมโดยใช้ชื่อโดเมนเนมจากชื่อขององค์กรธุรกิจ

ชื่อโดเมนเนมจะต้องสอดคล้อง, เป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือย่อมากจากชื่อองค์กรของท่านได้ และ หนึ่งองค์กรสามารถจดทะเบียนโดเมนเนม ได้มากกว่า 1 ชื่อ

องค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทย ใช้เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง (ใช้เอกสารเพียงหนึ่งอย่าง)

  1. หนังสือรับรองนิติบุคคล (บริษัท)
  2. เอกสาร ทค.0401 หรือ พค.0401 (ทะเบียนการค้า)
  3. หรือ เอกสาร ภ.พ.20 (ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  4. ภ.พ.01 (ใบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่)
  5. ใบ ภ.พ.09 (ใบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  6. หนังสือบริคณห์สนธิ (ต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่)
  7. หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ
  8. *** คุณสามารถแจ้งเลขทะเบียนพาณิชย์ของบริษัท แทนการใช้เอกสารได้

องค์กรต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย

  1. หนังสือรับรองบริษัทต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
  2. หนังสือรับรองบริษัทตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
  3. หนังสือรับรองที่รับรองโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ 2 ใจความ
  4. รับรองบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทตัวแทน
  5. รับรองการอนุญาตใช้ชื่อองค์กรต่างประเทศในการจดทะเบียนโดเมนเนม ในชื่อ yourdomain.co.th

ไฟล์ตัวอย่างเอกสารจดโดเมน .co.th

 เอกสาร ภ.พ.20 (ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) (pdf)

 หนังสือรับรองนิติบุคคล (pdf)

 เอกสาร ทค.0401 หรือ พค.0401 (ทะเบียนการค้า)(pdf)

 ใบ ภ.พ.01 (ใบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่) (pdf)

 ใบ ภ.พ.09 (ใบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) (pdf)

 ใบ ภ.พ.09 (ใบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) (pdf)

 ใบ ภ.พ.09 (ใบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) (pdf)

 หนังสือบริคณห์สนธิ (ต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่) (pdf)

 หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ (pdf)


ตัวอย่างเอกสารจดโดเมน .co.th หรือ .ธุรกิจ.ไทย

(2) จดทะเบียนโดเมนเนมโดยใช้ชื่อโดเมนเนม จากเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ

– ชื่อโดเมนเนมจำเป็นต้องตรงกับเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการทุกตัวอักษร

– องค์กรที่มีเครื่องหมายการค้ามากกว่า 1 ตัว สามารถจดชื่อโดเมนเนม .co.th ได้ตามจำนวนเครื่องหมายการค้านั้น

เอกสารที่ใช้ จดโดเมน ด้วยเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในประเทศไทย

  1. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  2. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายร่วม
  3. หรือ หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน เครื่องหมายบริการ ที่ถูกจดทะเบียนและประกาศรับรองโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย
  4. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง, หนังสือรับรองโดยผู้ถือครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ

เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัท ในประเทศไทย

  1. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
  2. หนังสือรับรองบริษัทตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
  3. รับรองการอนุญาตใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าต่างประเทศในการจดทะเบียนโดเมนเนม ในชื่อ XXX.CO.TH

หมายเหตุ : คุณสามารถจัดส่งเอกสาร หลังจากกรอกลงทะเบียนจดโดเมนเนมและส่งแบบฟอร์มจดทะเบียนโดเมนเนม เรียบร้อยแล้วค่ะ

ไฟล์ตัวอย่างเอกสารจดโดเมน .co.th

 หนังสือสำคัญ แสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (pdf)

 หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ (pdf)

 หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง (pdf)

 หนังสือรับรองโดยผู้ถือครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ (pdf)


เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .co.th

แนะนำการจดโดเมนเนม และเอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .AC.TH

แนะนำการจดโดเมนเนม - เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม ac.TH

การจดโดเมน .ac.th หรือ .ศึกษา.ไทย

โดเมนเนม .ac.th สำหรับสถานศึกษา (ในประเทศไทย) ที่รับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยงานที่มีสถานะเทียบเท่า

เอกสารประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนม .AC.TH มีดังนี้ค่ะ

  1. ประกาศจัดตั้งสถานศึกษา หรือ ใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานศึกษา

กรณีเอกสาร จัดตั้งสถานศึกษาของรัฐสูญหาย

หรือกรณีทางโรงเรียน ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งโรงเรียนได้ ให้ทางโรงเรียนออกเอกสารอื่น ดังนี้

สามารถใช้หนังสือที่ออกโดย ผู้อำนวยการ หรือผู้มีอำนาจลงนามของสถานศึกษา (พร้อมทั้งประทับตรา และเซนต์รับรอง โดยผู้อำนวยการโรงเรียน) เพื่อแจ้งขอจดทะเบียนชื่อโดเมน ซึ่งหนังสือต้องมีใจความสำคัญ ดังนี้

(1) ชื่อโดเมน
(2) ชื่อสถานศึกษา
(3) ชื่อหน่วยงานต้นสังกัด
(4) ที่ตั้งของสถานศึกษา

หมายเหตุ :

– คุณสามารถจัดส่งเอกสารหลังจากกรอกลงทะเบียนจดโดเมนเนมและส่งแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้วค่ะ

– พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าบริการ มาที่ support@skyfast.host หรือ Line id : @Skyfast หรือ ติดต่อเรา โดยคลิกที่นี่ค่ะ

ตัวอย่างเอกสาร :

ตัวอย่างเอกสาร (ตัวอย่างหนังสือรับรอง การจดโดเมนเนม .ac.th) ตัวอย่างเอกสาร หนังสือรับรองการจดโดเมน .ac.th

ตัวอย่างเอกสาร (ตัวอย่างหนังสือรับรอง การจดโดเมนเนม .ac.th) สำเนาหนังสือจัดตั้งสถานศึกษา (pdf)

ตัวอย่างเอกสาร (ตัวอย่างหนังสือรับรอง การจดโดเมนเนม .ac.th) หนังสือรับรองขอจดทะเบียนชื่อโดเมน (pdf)

เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .ac.th

แนะนำการจดโดเมนเนม และเอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .IN.TH

แนะนำการจดโดเมนเนม - เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม ac.TH

การจดโดเมน .in.th หรือ .ไทย

โดเมนเนม .in.th สำหรับองค์กรทุกประเภทตามกฎหมายไทย หรือบุคคลสัญชาติไทย หรือชาวต่างชาติที่มี ใบอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย ในส่วนบุคคลธรรมดาที่หย่อนความสามารถ เช่น ผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอม จากผู้แทนที่มีอำนาจตามกฎหมาย

เอกสารประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนม .IN.TH มีดังนี้ค่ะ

ตัวอย่างเอกสารประกอบการจดโดเมน .IN.TH หรือ .ไทย (ใช้เอกสารเพียง 1 อย่าง)

กรณีที่ 1. สำหรับองค์กร

  • ใช้หนังสือแจ้งขอจดทะเบียนชื่อโดเมน ลงนามโดยผู้บริหารองค์กร
  • ใช้เอกสารหนังสือรับรองบริษัท
  • ใบภ.พ.20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • หรือ ใบท.ค.0401 (ทะเบียนการค้า)
  • หรือ หนังสือรับรององค์กร/club/group

 หนังสือแจ้งขอจดทะเบียนชื่อโดเมน ลงนามโดยผู้บริหารองค์กร (pdf)


กรณีที่ 2. จดทะเบียนโดเมนเนมในนามบุคคล

ใช้เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง (สำเนา)

  • บัตรประชาชน
  • บัตรประจำตัวข้าราชการ
  • ใบอนุญาตขับรถ
  • หนังสือเดินทาง
  • ใบอนุญาตทำงาน (work permit)

หมายเหตุ :

– คุณสามารถจัดส่งเอกสาร หลังจากกรอกลงทะเบียนจดโดเมนเนมและส่งแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้วค่ะ

– พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าบริการ

 บัตรประชาชน (pdf)

 บัตรประจำตัวข้าราชการ (pdf)

 บัตรประจำตัวข้าราชการ (pdf)

 ใบอนุญาตขับรถ (pdf)

 หนังสือเดินทาง (pdf)

 ใบอนุญาตทำงาน (work permit) (pdf)

เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .in.th

แนะนำการจดโดเมนเนม และเอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .OR.TH

แนะนำการจดโดเมนเนม - เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม or.TH

การจดโดเมน .or.th หรือ .องค์กร.ไทย

โดเมนเนม .or.th สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชน เช่น สมาคม มูลนิธิสภาวิชาชีพ ศาสนสถาน องค์การมหาชน องค์กรอิสระ สหกรณ์ พรรคการเมือง สถานฑูต หอการค้า ชมรม โครงการเพื่อสังคม หรือ องค์กร ระหว่างประเทศที่มีสาขา หรือตัวแทนในประเทศไทย เป็นต้น

เอกสารประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนม .OR.TH มีดังนี้ค่ะ

ตัวอย่างเอกสารจดโดเมน .OR.TH หรือ .องค์กร.ไทย (ใช้เอกสารเพียง 1 อย่าง)

ใช้เอกสาร ใบอนุญาตหอการค้า ใบอนุญาตสมาคมการค้า ใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์กร

กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งองค์กรได้

โปรดแสดงหนังสือซึ่งประกอบด้วย ประธาน, คณะกรรมการ, จุดประสงค์ที่เด่นชัด, ที่อยู่ที่แน่นอน และมีหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักรับรองว่า มีหน่วยงานของท่านอยู่จริง

 ใบอนุญาตหอการค้า (pdf)

 หนังสือแจ้งขอจดทะเบียนชื่อโดเมน ลงนามโดยผู้บริหารองค์กร (pdf)

หมายเหตุ :

– คุณสามารถจัดส่งเอกสาร หลังจากกรอกลงทะเบียนจดโดเมนเนมและส่งแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้วค่ะ

– พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าบริการ

 ใบอนุญาตสมาคมการค้า (pdf)

 ใบอนุญาตทำงาน (work permit) (pdf)

 ใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์กร (pdf)

เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .or.th

แนะนำการจดโดเมนเนม .ไทย

การจดโดเมน .ไทย

การจดโดเมน .ไทยมีวิธีการจดทะเบียนโดเมนดังนี้

กรณีที่ 1) มีโดเมนภาษาอังกฤษภายใต้ .th อยู่แล้ว

คุณสามารถจดโดเมนภาษาไทย .ไทย ได้
โดยโดเมน .ไทย ที่ท่านจะจดเพิ่มนั้น จะต้องมีชื่อโดเมนที่สอดคล้องกับ ชื่อโดเมน .th ที่ท่านถือครองอยู่

แจ้งจดโดเมน .ไทย ฟอร์มออนไลน์ได้ที่นี่ค่ะ


กรณีที่ 2) จดโดเมนใหม่ โดยจดโดเมนภาษาอังกฤษ .th พร้อมกับจดโดเมน .ไทย

คุณสามารถจดโดเมน .ไทย ได้
โดยโดเมน .ไทย ที่ท่านจะจดเพิ่มนั้น จะต้องมีชื่อโดเมนที่สอดคล้องกับ ชื่อโดเมน .th ที่ท่านจะจดทะเบียน

บริษัทเป็น “ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ” ของ THNIC (Thnic Authorized reseller)

โดเมนเนม.ecomsiam.com -ตัวแทนจดโดเมนเนม .th จาก THNIC รับจดโดเมน .ไทย  โดยจดโดเมนภาษาอังกฤษภายใต้ .th ไปพร้อมกับจดโดเมน .ไทย ฟรี จดโดเมน .ไทย

บริการรับจดโดเมน . TH ในไทย ในชื่อโดเมนเนม .co.th, .ac.th .in.th และ .or.th กับ “THNIC ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการ จดโดเมนเนม .th ในประเทศไทย”

จดโดเมน .co.th/.ac.th/.in.th/.or.th ราคา 800 บ./ปี

จดโดเมน .th คลิ๊กที่นี่ค่ะ จดโดเมนเนม .ไทย



รับจดโดเมน .TH + ฟรีจดโดเมน .ไทย เป็นภาษาไทย

 จดโดเมน .co.th สำหรับองค์กรธุรกิจ + ฟรี จดโดเมน .ธุรกิจ.ไทย เป็นภาษาไทย

 จดโดเมน .in.th สำหรับองค์กรธุรกิจ และบุคคลทั่วไป + ฟรี จดโดเมน .ไทย เป็นภาษาไทย

 จดโดเมน .ac.th สำหรับสถานศึกษา + ฟรี จดโดเมน .ศึกษา.ไทย เป็นภาษาไทย

 จดโดเมน .or.th สำหรับองค์กร + ฟรี จดโดเมน .องค์กร.ไทย เป็นภาษาไทย

มีอัตราค่าจดโดเมน 800 บาท/ปี และ 1,500 บาท/2 ปี ค่ะ

Whois ตรวจสอบโดเมนได้ที่นี่ค่ะ เอกสารประกอบการจดโดเมนเนม .th


เริ่มต้นจดทะเบียนโดเมนเนม

(1) เลือกชื่อโดเมนที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจของคุณ

ในการเลือกชื่อโดเมนคุณสามารถตรวจสอบโดเมนได้จาก WHOIS domain จากผู้ให้บริการจดโดเมน ซึ่งมักจะแสดงช่องในหน้าแรกของเว็บไซต์ ของผู้ให้บริการโดเมน หากโดเมนเนมนั้นว่าง คุณสามารถดำเนินการจดโดเมนได้ทันทีค่ะ

Whois ตรวจสอบโดเมนได้ที่นี่ค่ะ

หลักการเลือกใช้ชื่อโดเมน

หลักการเลือกใช้ชื่อโดเมนเนม มีหลักเกณฑ์ดังนี้ :

(1) คุณควรใช้คำหลัก หรือคำค้น (keyword)

ชื่อโดเมนเนมที่จดทะเบียน ควรเป็นชื่อที่จดจำได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหรือผู้เยี่ยมชม และโดเมนเนม จะต้องสะกดอย่างถูกต้อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากชื่อโดเมนมีคำหลักหรือ Keyword ที่ต้องการให้ค้นพบใน search engine จะดีมาก

(2) ประเภทโดเมน นามสกุล หรือส่วนขยายของโดเมน (Domain extension)

ในปัจจุบันมีการใช้ตัวเลือกส่วนขยายของโดเมน (Domain extension) หลากหลาย เช่น .com .net .org .info .biz แต่ที่นิยม น่าเชื่อถือ มีความคุ้นเคย ในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และเหมาะสำหรับธุรกิจมากที่สุดคือ การจดโดเมน .com

สำหรับโดเมนเนม .net และ.org จัดได้ว่าเป็นนามสกุลที่มีความนิยมรองลงมา และโดเมนเนม .info และ .biz มีการนำมาใช้ด้วยแต่ได้รับความนิยมน้อยกว่า


ข้อมูลที่ใช้ในการจดทะเบียนโดเมนเนม

Domain Name Registration

เมื่อคุณทราบหรือเลือกชื่อโดเมนเนมของคุณได้แล้ว ก็ถึงเวลาจดทะเบียนโดเมน โดยเลือกจดโดเมนกับผู้ให้บริการโดเมนที่มีความน่าเชื่อถือ และราคาค่าจดทะเบียนโดเมนที่เหมาะสม

ในการจดโดเมน ข้อมูลที่คุณจะต้องกรอกและนำไปใช้ในการจดทะเบียนมีดังนี้:

Registrant (เจ้าของโดเมนเนม):

ชื่อของ บริษัท หรือบุคคลที่เป็นเจ้าของโดเมน (นี้ควรจะเป็นคุณ – ไม่ควรอนุญาตให้เว็บมาสเตอร์ของคุณในการซื้อ และเป็นเจ้าของโดเมนของคุณ)


Administrative Contact (ผู้ติดต่อหรือผู้ดูแลโดเมน):

บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการโดเมนเนม

Technical Contact (ผู้ติดต่อด้านเทคนิค):

บุคคลที่ได้รับมอบหมายในการจัดการ กับรายละเอียดทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับชื่อโดเมน โดยทั่วไปจะใส่ข้อมูลผู้ให้บริการจดโดเมนเนม

อีเมล์ที่ใช้ในการติดต่อของ Registrant (เจ้าของโดเมนเนม) และ Administrative Contact (ผู้ติดต่อหรือผู้ดูแลโดเมน) มีความสำคัญอย่างยิ่ง
เนื่องจากเป็นอีเมล์ที่ใช้ยืนยันความเป็นเจ้าของโดเมน และการติดต่อใดๆ เช่น ขอรหัสผ่านใหม่,การปลดล๊อกโดเมน,แจ้งย้ายโดเมน,ขอ Auth Code รวมถึงการรับอีเมล์แจ้งต่ออายุโดเมน เป็นต้น


จะใช้บริการจดโดเมน กับผู้ให้บริการรายไหนดี

สิ่งสำคัญในการเลือก จดโดเมนเนม กับผู้ให้บริการจดโดเมนมีหลักการพิจารณาผู้ให้บริการโดเมน คือ

(1) บริษัท หรือตัวแทนการจดทะเบียนที่ผ่านการรับรองจาก ICANN-ACCREDITED REGISTRAR

ในปัจจุบัน ผู้จดทะเบียนโดเมนเนม มักจะมีเสนอและฟีเจอร์ต่างๆ ให้กับลูกค้า หลากหลายการใช้งาน แต่นอกเหนือจากราคาโดเมนเนมแล้ว ฟีเจอร์ เช่น การบริการหลังการขาย และการแจ้งเตือนโดเมนเนมที่หมดอายุ และการป้องกันโดเมนถูกขโมย ถูกย้ายโดเมน ก็เป็นเกณฑ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมนเนม

ผู้บริการจดทะเบียนโดเมนเนม คือบริษัทที่ช่วยให้บุคคล และองค์กรธุรกิจ จดทะเบียนโดเมนเนมได้ โดยหน่วยงาน (ICANN) ได้อนุญาตให้ บริษัท หลายร้อยแห่งทำหน้าที่เป็นผู้รับจดทะเบียนชื่อโดเมน

โดยแต่ละแห่งมีรูปแบบการกำหนดราคาชุดคุณลักษณะ และโปรโตคอลความปลอดภัยที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มาดูประเด็นสำคัญในการเลือกผู้รับจดทะเบียนกัน


(2) ความสามารถในการควบคุม จัดการโดเมนเนมแบบเต็มรูปแบบ

โดยควรจะมีหน้าจอสำหรับติดต่อกับผู้ใช้ได้สะดวก และผู้ดูแลหรือเจ้าของโดเมนเนม สามารถเข้าแก้ไข หรือจัดการข้อมูลของโดเมนเนมได้ด้วยตนเอง

ที่โดเมนเนม.ecomsiam.com ลูกค้าที่จดโดเมนเนม .com .net .biz .org .info กับเรา จะได้รับมี รหัสผู้ใช้และ รหัสผ่านเข้าจัดการโดเมนเนม

การเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขข้อมูลโดเมนที่ท่านจดทะเบียน

หากคุณต้องการแก้ไขรายละเอียดของ”โดเมน” เช่น สถานที่ติดต่อ หรือ อีเมล์ ของผู้ดูแลโดเมน (Technical contact / Administrative contact) หรือแก้ไข DNS โดยระบบจัดการโดเมน (manage domain)

ซึ่งเป็นการแก้ไขข้อมูลโดเมนเนม โดยตรงกับ “ฐานข้อมูลของ Registrar”

โดยใชรหัสผ่านผู้ใช้งาน (user /password) ที่ โดเมนเนม.skyfast.com แจ้งให้กับท่านผ่านทางอีเมล์ เมื่อท่านได้จดโดเมน

โดยการแก้ไขข้อมูลโดเมนดังกล่าว จะใช้เวลาอย่างเร็วประมาณ 4 ชั่วโมง หรืออย่างช้าประมาณ 15-24 ชม. จึงจะเป็นที่รู้จักทั่วไปในอินเตอร์เน็ต

หากคุณไม่ทราบผู้ให้บริการจดโดเมนเนมหรือ registrar ที่คุณได้จดโดเมนเนม หรือต้องการทราบข้อมูลรายละเอียดของข้อมูลโดเมน เพิ่มเติม

คุณสามารถตรวจสอบหรือเช็คโดเมนได้โดย คลิ๊กที่นี่ี่ค่ะ

การป้องกันโดเมนถูกขโมย ป้องกันถูกย้ายโดเมน

การแก้ไขโดเมน ที่จดทะเบียนโดเมนเนมกับ Registrar (คลิ๊ก)


(3) ฟีเจอร์ของโดเมนเต็มครบตามความต้องการ

โดยทั่วไปฟีเจอร์ของโดเมนเนม ควรประกอบด้วยบริการดังนี้ค่ะ

Email Forwarding

email forwarding คือ การบริการ การส่งต่ออีเมล ซึ่งจะส่งข้อความอีเมลนี้ ไปยังอีก email address อื่น ที่คุณกำหนดไว้ เช่น คุณกำหนดชื่ออีเมล์ โดเมนเนมของคุณ เช่น email@mydomain.com และเมื่อมีการรับอีเมล์นี้ จะกำหนดให้อีเมล์ email@mydomain.com ส่งต่ออีเมล์ (forward email) ไปที่อีเมล์อื่น

โดยจะไม่มีกล่องจดหมายเข้า สำหรับที่อยู่อีเมลที่ใช้สำหรับส่งต่อ (ตัวอย่าง email@mydomain.com ไม่มีการจัดเก็บอีเมล์ไว้) เนื่องจาก เป็นการส่งต่ออีเมล์ ไปยังที่อยู่อีเมลอื่นที่คุณระบุไว้

DNS Control

DNS Control คือ ระบบจัดการ DNS (domain name server) ของโดเมนเนม ผ่านคอนโทรลพาเนล และใช้ DNS-DIY กำหนด DNS ของโดเเมนเนม รวมถึงการกำหนด MX Record และ CNAMES Record

Protect Your Privacy

Protect Your Privacy เป็นฟีเจอร์หนึ่งที่ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และองค์กร ด้วยWHOIS ของโดเมนเนมของคุณ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มใด ๆ !

Protect Your Privacy ช่วยปกป้องคุณให้ห่างจากสแปมเมล์, ฟิชชิ่งเและการตลาดทางโทรศัพท์ หรือจากแฮกเกอร์

 Protect Your Privacy ! เป็นบริการสำหรับ โดเมนเนม .com .net .org .info .biz
ไม่รวมถึง โดเมนเนม .th

ฟีเจอร์ของโดเมนเนม .com .net .org .info .biz

URL Forwarding

URL Forwarding หรือ URL redirection ซึ่งเป็นการส่ง URL ให้คุณสามารถเปลี่ยนเส้นทางหรือ ‘ชี้โดเมนเนม ของคุณไปยังตำแหน่งอื่น

คอนโทรลพาเนล จัดการโดเมนเนม

พร้อมรหัสผ่าน เข้าจัดการโดเมน เช่น การเปลี่ยนข้อมูลเจ้าของโดเมนเนม, อีเมล์ที่ใช้ในการติดต่อ ตลอดจนการจัดการ DNS

Email Forwarding

Email Forward : บริการ email forward ในชื่อโดเมนเนมของคุณ เช่น email@mydomain.com

DNS Control

ระบบจัดการ DNS ของโดเมนเนมผ่านคอนโทรลพาเนล และใช้ DNS-DIY กำหนด DNS ของโดเเมนเนม รวมถึงการกำหนด MX Record และ CNAMES Record

PROTECT YOUR PRIVACY

ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และองค์กร ด้วยWHOIS ของโดเมนเนมของคุณ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มใด ๆ !

ช่วยปกป้องคุณให้ห่างจากสแปมเมล์, ฟิชชิ่งเและการตลาดทางโทรศัพท์

หมายเหตุ: Protect Your Privacy เป็นบริการสำหรับ โดเมนเนม .com .net .org .info .biz
ไม่รวมถึง โดเมนเนม .th

CUSTOMER SUPPORT

เจ้าหน้าที่ริการลูกค้า ยินดีให้คำปรึกษา และดูแลตอบปัญหาการใช้งาน หากคุณมีข้อสงสัย สามารถติดต่อเราอีเมล์ support@skyfast.host หรือ Line id : @Skyfast ค่ะ


(4) การบริการลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ

Customer service : การบริการลูกค้า

งานบริการลูกค้าสำหรับผู้ให้บริการโดเมนเนม จัดว่าเป็นส่วนที่ยากที่จะประเมินออกมาได้

โดยคุณสามารถโทรติดต่อสอบถามไปที่บริษัท หรือพิจารณาจากผู้ใช้บริการ ซึ่งถ้าเป็นลูกค้าองค์กรเป็นส่วนใหญ่ ความน่าเชื่อถือของ ผู้ให้บริการจดโดเมนเนม ตลอดจนระยะเวลา และประสบการณ์ในการเปิดให้บริการในธุรกิจโดเมนเนม

โดยพิจารณา ในด้านการตอบปัญหาทางอีเมล์ การสื่อสารกับลูกค้า ช่องทางต่างๆ เช่น Live Chat เป็นต้น

หากคุณมีข้อสงสัย สามารติดต่อกับเจ้าหน้าที่บริการลูกค้า หรือ customer support ของ ecomsiam web hosting ได้ที่ support@skyfast.host ค่ะ หรือ Line id : @Skyfast ค่ะ